วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ




สู่สากลบนรากฐานความเป็นไทย ก้าวไกลด้วยรากเหง้า

      การเรียนรู้ในชุมชนคือหน่วยย่อยที่ถูกต้องจากข้างล่างหาช่องทางให้คนที่อยากสอนกับคนที่อยากเรียนมาพบกันทำให้การเรียนการสอนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้การศึกษาที่อาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Interactive Learning Through Action) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่จะพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพ เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่โดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนหรือในโรงเรียนเท่านั้น เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ และเป็นทั้งเครื่องมือแก้วิกฤตของมนุษยชาติไปในขณะเดียวกัน”
kaarsueksaa_1

              หากพิจารณาตามนัยนี้ การศึกษาในยุคใหม่สามารถใช้ชุมชนมาเป็นโจทย์ในการสร้างให้ผู้เรียนเกิดความกระหายใคร่รู้จากเรื่องราวใกล้ตัวที่มีความใกล้ชิดผูกพันอยู่กับชีวิต สร้างให้ผู้เรียนรู้จักนำโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมากระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มที่จะหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ อันได้มาจากการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และจากการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญคือสามารถสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเชื่อมั่นในความดี ความถูกต้องที่สอดคล้องกับหลักธรรมของศาสนา
              ดังนั้นโจทย์ใหญ่ที่เยาวชนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ก็คือการเรียนรู้เรื่องของตัวเอง และศึกษาเรียนรู้ชีวิตที่มีคนและสังคมเป็นตัวตั้ง เพื่อเข้าให้ถึงคุณค่าและความดีงาม ก่อนที่จะออกไปเผชิญกับความแตกต่างหลากหลายในโลกอันกว้างด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม
     ระบบการศึกษาในวันนี้จึงควรเป็นไปเพื่อสร้างเยาวชนเยาวชนรุ่นใหม่ให้ผูกพันกับรากเหง้า และเป็นไปเพื่อการสร้างคนดีคนเก่ง ที่มีความผูกพันกับบ้านเมือง เพื่อการปลูกฝังอนาคตของชาติ และเป็นพลังสำคัญในการร่วมสร้างโลกที่มีดุลยภาพให้กับมวลมนุษยชาติในวันข้างหน้า





 ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสารสื่อพลัง      และวิชาการดอทคอม    www.pttplc.com 

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู



วิดีโอ โททัศน์ครู
ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น(ถิ่นวิทยาคาร)




คุณครูไพพรจะสอนในการปฏิบัติจริงไปสถานที่จริง ได้ไปดูผลไม้ของจริง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้และมีการให้เด็กๆได้ซักถามสิ่งที่เด็กๆอยากรู้ เด็กๆก็ได้รับประสบการณ์ตรง เด็กๆมีความกล้าแสดงออก กล้าซักถาม และนำประสบการณ์ตรงมาให้เด็กๆถ่ายทอดลงในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ปรากฎว่าเด็กเรียนรู้ได้เร็ว เป็นการบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก

 เข้าด้วยกัน 
1.เคลื่อนไหวและจังหวะ
 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์                
3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์









สรุปงานวิจัย


 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

             สเปส หรือ มิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้
การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืน อยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อน ที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใด ไว้ เป็นต้น













วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทักการเรียนครั้งที่ 17

เรียนชดเชย


นำสื่อ 2 ชิ้นมาส่ง

-สื่อของเล่น
-สื่อเข้ามุมณ์วิทยาศาสตร์



  นำเสนอการทดลอง





วีธีลดลอง
1.ตัดคอขวดที่เตรียมไว้ออก
2.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 1 ปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
3.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 2 นำน้ำใส่ขวดพอประมาณปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
4.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 3 น้ำน้ำแล้วใส่เกลือพอประมาณปากถุงมัดยางให้แน่น
5.ทดสอบปล่อยขวดที่ทำทีละขวดแล้วสังเกต
 สรุปผลการทดลอง
ขวดใบ     1 ไข่แตก
ขวดใบที่   2 ไข่เริ่มร้าว
ขวดใบที่  3   ไข่ไม่แตก
สรุปผลการทดลอง
ถ้าเราสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าขวดที่ใส่น้ำเกลือนั้นจะเห็นได้ว่า ไข่ไม่แตกเพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่าไข่จึงลอยอยู่ในน้ำเกลือได้ น้ำเกลือจะช่วยพยุงไข่ไว้แรงที่เกิดจากการตกกระทบพื้น จึงถูกกระจายไปไม่รวมอยู่ที่จุดเดียวเปลือกไข่จึงไม่แตกจึงต่างจากขวดใบแรกและใบที่สองได้รับแรงกระแทกที่จุดเดียวไม่มีการกระจายแรงจึงทำให้เปลือกไข่แตกร้าว





บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556 




การเรียนการสอน



อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย