วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ




สู่สากลบนรากฐานความเป็นไทย ก้าวไกลด้วยรากเหง้า

      การเรียนรู้ในชุมชนคือหน่วยย่อยที่ถูกต้องจากข้างล่างหาช่องทางให้คนที่อยากสอนกับคนที่อยากเรียนมาพบกันทำให้การเรียนการสอนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้การศึกษาที่อาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Interactive Learning Through Action) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่จะพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพ เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่โดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนหรือในโรงเรียนเท่านั้น เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ และเป็นทั้งเครื่องมือแก้วิกฤตของมนุษยชาติไปในขณะเดียวกัน”
kaarsueksaa_1

              หากพิจารณาตามนัยนี้ การศึกษาในยุคใหม่สามารถใช้ชุมชนมาเป็นโจทย์ในการสร้างให้ผู้เรียนเกิดความกระหายใคร่รู้จากเรื่องราวใกล้ตัวที่มีความใกล้ชิดผูกพันอยู่กับชีวิต สร้างให้ผู้เรียนรู้จักนำโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมากระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มที่จะหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ อันได้มาจากการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และจากการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญคือสามารถสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเชื่อมั่นในความดี ความถูกต้องที่สอดคล้องกับหลักธรรมของศาสนา
              ดังนั้นโจทย์ใหญ่ที่เยาวชนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ก็คือการเรียนรู้เรื่องของตัวเอง และศึกษาเรียนรู้ชีวิตที่มีคนและสังคมเป็นตัวตั้ง เพื่อเข้าให้ถึงคุณค่าและความดีงาม ก่อนที่จะออกไปเผชิญกับความแตกต่างหลากหลายในโลกอันกว้างด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม
     ระบบการศึกษาในวันนี้จึงควรเป็นไปเพื่อสร้างเยาวชนเยาวชนรุ่นใหม่ให้ผูกพันกับรากเหง้า และเป็นไปเพื่อการสร้างคนดีคนเก่ง ที่มีความผูกพันกับบ้านเมือง เพื่อการปลูกฝังอนาคตของชาติ และเป็นพลังสำคัญในการร่วมสร้างโลกที่มีดุลยภาพให้กับมวลมนุษยชาติในวันข้างหน้า





 ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสารสื่อพลัง      และวิชาการดอทคอม    www.pttplc.com 

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู



วิดีโอ โททัศน์ครู
ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น(ถิ่นวิทยาคาร)




คุณครูไพพรจะสอนในการปฏิบัติจริงไปสถานที่จริง ได้ไปดูผลไม้ของจริง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้และมีการให้เด็กๆได้ซักถามสิ่งที่เด็กๆอยากรู้ เด็กๆก็ได้รับประสบการณ์ตรง เด็กๆมีความกล้าแสดงออก กล้าซักถาม และนำประสบการณ์ตรงมาให้เด็กๆถ่ายทอดลงในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ปรากฎว่าเด็กเรียนรู้ได้เร็ว เป็นการบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก

 เข้าด้วยกัน 
1.เคลื่อนไหวและจังหวะ
 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์                
3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์









สรุปงานวิจัย


 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

             สเปส หรือ มิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้
การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืน อยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อน ที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใด ไว้ เป็นต้น













วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทักการเรียนครั้งที่ 17

เรียนชดเชย


นำสื่อ 2 ชิ้นมาส่ง

-สื่อของเล่น
-สื่อเข้ามุมณ์วิทยาศาสตร์



  นำเสนอการทดลอง





วีธีลดลอง
1.ตัดคอขวดที่เตรียมไว้ออก
2.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 1 ปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
3.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 2 นำน้ำใส่ขวดพอประมาณปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
4.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 3 น้ำน้ำแล้วใส่เกลือพอประมาณปากถุงมัดยางให้แน่น
5.ทดสอบปล่อยขวดที่ทำทีละขวดแล้วสังเกต
 สรุปผลการทดลอง
ขวดใบ     1 ไข่แตก
ขวดใบที่   2 ไข่เริ่มร้าว
ขวดใบที่  3   ไข่ไม่แตก
สรุปผลการทดลอง
ถ้าเราสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าขวดที่ใส่น้ำเกลือนั้นจะเห็นได้ว่า ไข่ไม่แตกเพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่าไข่จึงลอยอยู่ในน้ำเกลือได้ น้ำเกลือจะช่วยพยุงไข่ไว้แรงที่เกิดจากการตกกระทบพื้น จึงถูกกระจายไปไม่รวมอยู่ที่จุดเดียวเปลือกไข่จึงไม่แตกจึงต่างจากขวดใบแรกและใบที่สองได้รับแรงกระแทกที่จุดเดียวไม่มีการกระจายแรงจึงทำให้เปลือกไข่แตกร้าว





บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556 




การเรียนการสอน



อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย







วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพุธที่ 18 กันยายน  2556   





การเรียนการสอน


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระทางราชการ




สิ่งที่สนใจ


คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย
ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย





หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง 

จึงมีความสุข



ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก




เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง

ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์



แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด




นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา

แต่คนโง่อย่างพวกเรา



ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว

ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย









                                          คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 11 กันยายน 2556



การเรียนการสอน



วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม COOKING ไข่ตุ๋น










  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"


  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  1. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"
วิธีการทำไข่ตุ่น
  • เตรียมเครื่องต่างๆให้ครบ (หั่นแครอทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ , แกะข้าวโพดเตรียมไว้ , ซอยผักชีต้นหอมเพื่อใช้โรยหน้า
  • เอาถ้วยสำหรับตุ๋นไข่ เป็นถ้วยกระเบื้อง แบบสองชั้นพร้อมฝาปิดมีขายตามห้างทั้วไป (หากไม่มีก็ใช้ชามก้นลึกแล้วซ้อนกับชามใหญ่กว่า ใส่น้ำอีกใบ ปิดฝาด้วยแรบแทนได้) 
  • ตอกไข่ใส่ไป 2 ฟอง หรือมากเท่าจำนวนที่เราต้องการ  เติมน้ำซุปตามไปอีก 2.5 เท่าของปริมาณไข่ที่เราตอกใส่ไป
  • หลังจากเติมน้ำแล้ว ใช้ส้อมคนเบา อย่าให้เป็นฟองฟอด ปรุงรสตามใจชอบแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นก็ เอาไข่ไปตุ๋นในหม้อข้าวหรือหม้อนึ่งไฟฟ้า
  • ที่เตรียมมา ใช้เวลารวม 15-20 นาที 
  • นำเครื่องที่เตรียมไว้ในตอนแรกใส่ลงไป (เครื่องต่างๆ ควรทำให้สุกก่อนจะดีมากกว่าใส่ทั้งดิบๆ เพราะเราต้องเข้าไปเวฟอีกดีกว่า ไข่จะไม่เนียนเพราะให้ความร้อมนานและมากเกินไป)
  • เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน ใช้เวลานานหน่อย แต่อร่อยคุ้ม :))

  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  1.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  1. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  1.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  1. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
ทักษะที่ได้รับ
การนำไปประยุกต์ใช้




หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันขาดเรียน ได้สอบถามกิจกรรมการเรียนกับเพื่อน