วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ




สู่สากลบนรากฐานความเป็นไทย ก้าวไกลด้วยรากเหง้า

      การเรียนรู้ในชุมชนคือหน่วยย่อยที่ถูกต้องจากข้างล่างหาช่องทางให้คนที่อยากสอนกับคนที่อยากเรียนมาพบกันทำให้การเรียนการสอนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้การศึกษาที่อาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Interactive Learning Through Action) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่จะพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพ เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่โดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนหรือในโรงเรียนเท่านั้น เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ และเป็นทั้งเครื่องมือแก้วิกฤตของมนุษยชาติไปในขณะเดียวกัน”
kaarsueksaa_1

              หากพิจารณาตามนัยนี้ การศึกษาในยุคใหม่สามารถใช้ชุมชนมาเป็นโจทย์ในการสร้างให้ผู้เรียนเกิดความกระหายใคร่รู้จากเรื่องราวใกล้ตัวที่มีความใกล้ชิดผูกพันอยู่กับชีวิต สร้างให้ผู้เรียนรู้จักนำโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมากระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มที่จะหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ อันได้มาจากการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และจากการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญคือสามารถสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเชื่อมั่นในความดี ความถูกต้องที่สอดคล้องกับหลักธรรมของศาสนา
              ดังนั้นโจทย์ใหญ่ที่เยาวชนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ก็คือการเรียนรู้เรื่องของตัวเอง และศึกษาเรียนรู้ชีวิตที่มีคนและสังคมเป็นตัวตั้ง เพื่อเข้าให้ถึงคุณค่าและความดีงาม ก่อนที่จะออกไปเผชิญกับความแตกต่างหลากหลายในโลกอันกว้างด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม
     ระบบการศึกษาในวันนี้จึงควรเป็นไปเพื่อสร้างเยาวชนเยาวชนรุ่นใหม่ให้ผูกพันกับรากเหง้า และเป็นไปเพื่อการสร้างคนดีคนเก่ง ที่มีความผูกพันกับบ้านเมือง เพื่อการปลูกฝังอนาคตของชาติ และเป็นพลังสำคัญในการร่วมสร้างโลกที่มีดุลยภาพให้กับมวลมนุษยชาติในวันข้างหน้า





 ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสารสื่อพลัง      และวิชาการดอทคอม    www.pttplc.com 

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู



วิดีโอ โททัศน์ครู
ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น(ถิ่นวิทยาคาร)




คุณครูไพพรจะสอนในการปฏิบัติจริงไปสถานที่จริง ได้ไปดูผลไม้ของจริง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้และมีการให้เด็กๆได้ซักถามสิ่งที่เด็กๆอยากรู้ เด็กๆก็ได้รับประสบการณ์ตรง เด็กๆมีความกล้าแสดงออก กล้าซักถาม และนำประสบการณ์ตรงมาให้เด็กๆถ่ายทอดลงในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ปรากฎว่าเด็กเรียนรู้ได้เร็ว เป็นการบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก

 เข้าด้วยกัน 
1.เคลื่อนไหวและจังหวะ
 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์                
3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์









สรุปงานวิจัย


 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

             สเปส หรือ มิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้
การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืน อยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อน ที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใด ไว้ เป็นต้น













วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทักการเรียนครั้งที่ 17

เรียนชดเชย


นำสื่อ 2 ชิ้นมาส่ง

-สื่อของเล่น
-สื่อเข้ามุมณ์วิทยาศาสตร์



  นำเสนอการทดลอง





วีธีลดลอง
1.ตัดคอขวดที่เตรียมไว้ออก
2.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 1 ปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
3.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 2 นำน้ำใส่ขวดพอประมาณปิดปากถุงมัดยางให้แน่น
4.นำไข่ใส่ขวดใบที่ 3 น้ำน้ำแล้วใส่เกลือพอประมาณปากถุงมัดยางให้แน่น
5.ทดสอบปล่อยขวดที่ทำทีละขวดแล้วสังเกต
 สรุปผลการทดลอง
ขวดใบ     1 ไข่แตก
ขวดใบที่   2 ไข่เริ่มร้าว
ขวดใบที่  3   ไข่ไม่แตก
สรุปผลการทดลอง
ถ้าเราสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าขวดที่ใส่น้ำเกลือนั้นจะเห็นได้ว่า ไข่ไม่แตกเพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่าไข่จึงลอยอยู่ในน้ำเกลือได้ น้ำเกลือจะช่วยพยุงไข่ไว้แรงที่เกิดจากการตกกระทบพื้น จึงถูกกระจายไปไม่รวมอยู่ที่จุดเดียวเปลือกไข่จึงไม่แตกจึงต่างจากขวดใบแรกและใบที่สองได้รับแรงกระแทกที่จุดเดียวไม่มีการกระจายแรงจึงทำให้เปลือกไข่แตกร้าว





บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556 




การเรียนการสอน



อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย







วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพุธที่ 18 กันยายน  2556   





การเรียนการสอน


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระทางราชการ




สิ่งที่สนใจ


คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย
ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย





หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง 

จึงมีความสุข



ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก




เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง

ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์



แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด




นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา

แต่คนโง่อย่างพวกเรา



ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว

ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย









                                          คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 11 กันยายน 2556



การเรียนการสอน



วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม COOKING ไข่ตุ๋น










  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"


  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  1. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"
วิธีการทำไข่ตุ่น
  • เตรียมเครื่องต่างๆให้ครบ (หั่นแครอทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ , แกะข้าวโพดเตรียมไว้ , ซอยผักชีต้นหอมเพื่อใช้โรยหน้า
  • เอาถ้วยสำหรับตุ๋นไข่ เป็นถ้วยกระเบื้อง แบบสองชั้นพร้อมฝาปิดมีขายตามห้างทั้วไป (หากไม่มีก็ใช้ชามก้นลึกแล้วซ้อนกับชามใหญ่กว่า ใส่น้ำอีกใบ ปิดฝาด้วยแรบแทนได้) 
  • ตอกไข่ใส่ไป 2 ฟอง หรือมากเท่าจำนวนที่เราต้องการ  เติมน้ำซุปตามไปอีก 2.5 เท่าของปริมาณไข่ที่เราตอกใส่ไป
  • หลังจากเติมน้ำแล้ว ใช้ส้อมคนเบา อย่าให้เป็นฟองฟอด ปรุงรสตามใจชอบแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นก็ เอาไข่ไปตุ๋นในหม้อข้าวหรือหม้อนึ่งไฟฟ้า
  • ที่เตรียมมา ใช้เวลารวม 15-20 นาที 
  • นำเครื่องที่เตรียมไว้ในตอนแรกใส่ลงไป (เครื่องต่างๆ ควรทำให้สุกก่อนจะดีมากกว่าใส่ทั้งดิบๆ เพราะเราต้องเข้าไปเวฟอีกดีกว่า ไข่จะไม่เนียนเพราะให้ความร้อมนานและมากเกินไป)
  • เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน ใช้เวลานานหน่อย แต่อร่อยคุ้ม :))

  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  1.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  1. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  1.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  1. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
ทักษะที่ได้รับ
การนำไปประยุกต์ใช้




หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันขาดเรียน ได้สอบถามกิจกรรมการเรียนกับเพื่อน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันพุธที่ 4  กันยายน  2556  



การเรียนการสอน

ไม่มีการเรียนการสอน.








สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน 

ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนี้       
1. สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่ พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากพืช            
2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์         
3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย ความร้อน ความเย็น             
4. สาระเกี่ยวกับเคมี ได้แก่ รสผลไม้ การละลายของน้ำแข็ง             
5. สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ได้แก่ ดิน ทราย หิน ภูเขา             
6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว ฤดูกาล              
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร เรียกว่า ธรรมชาติรอบตัว โดยกำหนดให้เด็กเรียน สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ






วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556   




การเรียนการสอน




ศึกษาดูงาน


  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา







โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา






































วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันพุธที่ 21  สิงหาคม2556  





การเรียนการสอน



  ให้นักศึกษาแก้ไขงาน




  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ความรู้ (Science Knowledge) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้
1.1 ความรู้ (Science Knowledge
1. ข้อมูล (Data)
2. ข้อเท็จจริง (Fact)
3. ข้อสรุป (Conclusion)
4. กฎ (Law)
5. ทฤษฎี (Theory)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process)
1. การกำหนดปัญหา
2. การตั้งสมมติฐาน
3. การตรวจสอบสมมติฐาน
4. การแปรผลและสรุปผลการทดลอง
การออกแบบการทดลอง
- กลุ่มทดลอง
- กลุ่มควบคุม
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ
- ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
- ตัวแปรควบคุม (Controlled Variable)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการคิดและการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความชำนาญและความคล่องแคล่วในการใช้ เพื่อแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนหาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
3. ทักษะการจำแนกประเภท
4. ทักษะการใช้ตัวเลข
5. ทักษะการวัด
6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
7. ทักษะการพยากรณ์
8. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
1.ทักษะการสังเกต (Observation)
ทักษะการสังเกต หมายถึงกระบวนการหรือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป
ประสาทสัมผัส
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส
การสังเกต
1. การสังเกตเชิงคุณภาพ
2. การสังเกตเชิงปริมาณ
3. การสังเกตเชิงเชิงเปรียบเทียบ
4. การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
การบันทึกผลการสังเกต
- บันทึกในตาราง
- บันทึกข้อมูลบันทึกข้อมูลเป็นคำบรรยาย
- บันทึกเป็นรูปภาพ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
- บันทึกเป็นภาพยนตร์และเสียง
การขยายขอบเขตของการสังเกต
การขยายขอบเขตของการสังเกตเป็นการลดความคลาดเคลื่อน ของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องตามสภาพจริงและน่าเชื่อถือโดยอาจใช้เครื่องมือช่วยขยายขอบเขตของประสาทสัมผัส ใช้การสังเกตซ้ำหลายๆ ครั้ง หรือโดยการสังเกตหลายๆ คน
2. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะ เช่นเดียวกับวัตถุ โดยทั่วไปสเปสของวัตถุจะมี 1 มิติ (ความยาว), 2 มิติ (ความกว้างและความยาว) และ 3 มิติ (ความกว้างความยาวและความสูง)
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
หมายถึงความสามารถหรือความชำนาญ ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุกับวัตถุและมิติของวัตถุกับเวลาได้แก่รูปหนึ่งมิติ สองมิติและสามมิติ รวมไปถึงความสามารถในการระบุรูปฉายและ รูปคลี่ได้
2.1การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง
2.2 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลา หรือความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุ ที่เปลี่ยนไปกับเวลา
ความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือการบ่งชี้รูป 2 มิติ และ 3 มิติได้ สามารถวาดภาพ 2 มิติจากวัตถุหรือภาพ 3 มิติได้
ความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ การบอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุโดยใช้ ตนเองหรือวัตถุอื่น เป็นเกณฑ์ บอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของวัตถุกับเวลาได้
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)


การจำแนก หมายถึงกระบวนการจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือ จัดจำพวก
4. ทักษะการวัด (Measurement)
การวัดคือกระบวนการเปรียบเทียบปริมาณที่ต้องการวัดกับหน่วยที่เป็นมาตรฐานโดยอาศัยเครื่องมือวัดที่ถูกต้องและเหมาะสม การวัดประกอบด้วย เครื่องมือวัด วิธีการวัดและหน่วยที่เป็นมาตรฐาน
การวัดจะต้องมุ่งให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างเหมาะสม
2. บอกเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้
3. บอกวิธีการใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้ย่างถูกต้อง
4. สามารถใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างคล่องแคล่ว
5. สามารถใช้ตัวเลขแทนจำนวนที่วัดได้พร้อมระบุหน่วยกำกับได้ถูกต้อง
5. ทักษะการคำนวณ (Using Number)
การคำนวณเป็นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การแก้สมการ การหาค่าเฉลี่ยการเขียนกราฟ ฯลฯ มาใช้แก้ปัญหาหรือช่วยในการค้นคว้าได้อย่างเหมาะสม
6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

การจัดกระทำข้อมูลเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวัด การสังเกต การทดลอง และจากแหล่งต่างๆ มาจัดกระทำอย่างเป็นระบบ โดยการเรียงลำดับ จำแนกประเภท จัดหมวดหมู่ จัดทำตารางความถี่ หรือนำมาคำนวณหาค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลมีความชัดเจนและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ศึกษา
ข้อมูล
ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ
1. ข้อมูลดิบ
2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว
การสื่อความหมาย
การสื่อความหมายเป็นความสามารถในการใช้ภาษาพูด หรือการเขียนบรรยายรวมทั้งการเขียนแผนภาพ แผนที่ ตาราง กราฟหรือสร้างสื่ออื่นๆประกอบการพูดหรือการเขียนบรรยาย เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัดแจ้งและ รวดเร็ว การสื่อความหมายเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่สำคัญทุกกิจกรรม
การสื่อความหมาย
1. การสื่อความหมายโดยการพูดหรือการเขียนบรรยาย
2. การสื่อความหมายโดยการใช้แผนภาพ
3. การสื่อความหมายโดยการใช้ตาราง
4. การสื่อความหมายโดยการใช้กราฟ
7. ทักษะการทำนายหรือการพยากรณ์
การทำนายหรือการพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย
8. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสวัตถุหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูล อย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ อธิบายหรือสรุปเกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป
9. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม
1. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
2. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
3. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
4. ทักษะการทดลอง
5. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
1. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร แปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ
2. ตัวแปรตาม หรือตัวแปรซึ่งเป็นผลมาจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม หรือตัวแปรคงที่
2. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ทักษะการทดลอง

1. ทักษะการออกแบบการทดลอง
2. ทักษะการปฏิบัติการทดลอง
3. ทักษะการบันทึกผลการทดลองและการสรุปผลการทดลอง
4.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้ รวมทั้งการกำหนดข้อความซึ่งใช้สื่อความหมายในทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน และเป็นประโยชน์ในการที่จะทำการทดลอง หรือตรวจสอบได้ด้วย การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จึงมีจุดประสงค์เพื่อ ให้เข้าใจตรงกันและให้สังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ง่าย
5. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะการแปลความหมายข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการบรรยายลักษณะ และสมบัติของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องและเข้าเป็นที่ใจตรงกัน ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะนำเสนอในรูปแบบใด เช่น ในรูปของกราฟ แผนภาพ แผนที่ หรืออื่น ๆ การลงข้อสรุป หมายถึง การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
อ้างอิง