วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพุธที่ 18 กันยายน  2556   





การเรียนการสอน


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระทางราชการ




สิ่งที่สนใจ


คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย
ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย





หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง 

จึงมีความสุข



ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก




เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง

ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์



แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด




นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา

แต่คนโง่อย่างพวกเรา



ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว

ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย









                                          คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 11 กันยายน 2556



การเรียนการสอน



วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม COOKING ไข่ตุ๋น










  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"


  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  1. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"
วิธีการทำไข่ตุ่น
  • เตรียมเครื่องต่างๆให้ครบ (หั่นแครอทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ , แกะข้าวโพดเตรียมไว้ , ซอยผักชีต้นหอมเพื่อใช้โรยหน้า
  • เอาถ้วยสำหรับตุ๋นไข่ เป็นถ้วยกระเบื้อง แบบสองชั้นพร้อมฝาปิดมีขายตามห้างทั้วไป (หากไม่มีก็ใช้ชามก้นลึกแล้วซ้อนกับชามใหญ่กว่า ใส่น้ำอีกใบ ปิดฝาด้วยแรบแทนได้) 
  • ตอกไข่ใส่ไป 2 ฟอง หรือมากเท่าจำนวนที่เราต้องการ  เติมน้ำซุปตามไปอีก 2.5 เท่าของปริมาณไข่ที่เราตอกใส่ไป
  • หลังจากเติมน้ำแล้ว ใช้ส้อมคนเบา อย่าให้เป็นฟองฟอด ปรุงรสตามใจชอบแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นก็ เอาไข่ไปตุ๋นในหม้อข้าวหรือหม้อนึ่งไฟฟ้า
  • ที่เตรียมมา ใช้เวลารวม 15-20 นาที 
  • นำเครื่องที่เตรียมไว้ในตอนแรกใส่ลงไป (เครื่องต่างๆ ควรทำให้สุกก่อนจะดีมากกว่าใส่ทั้งดิบๆ เพราะเราต้องเข้าไปเวฟอีกดีกว่า ไข่จะไม่เนียนเพราะให้ความร้อมนานและมากเกินไป)
  • เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน ใช้เวลานานหน่อย แต่อร่อยคุ้ม :))

  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  1.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  1. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  1.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  1. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
ทักษะที่ได้รับ
การนำไปประยุกต์ใช้




หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันขาดเรียน ได้สอบถามกิจกรรมการเรียนกับเพื่อน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันพุธที่ 4  กันยายน  2556  



การเรียนการสอน

ไม่มีการเรียนการสอน.








สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน 

ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนี้       
1. สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่ พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากพืช            
2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์         
3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย ความร้อน ความเย็น             
4. สาระเกี่ยวกับเคมี ได้แก่ รสผลไม้ การละลายของน้ำแข็ง             
5. สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ได้แก่ ดิน ทราย หิน ภูเขา             
6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว ฤดูกาล              
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร เรียกว่า ธรรมชาติรอบตัว โดยกำหนดให้เด็กเรียน สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ